“แม้ผู้ป่วยทุกคนจะมีสิทธิฉุกเฉิน เข้ารักษาก่อนได้ทุกที่ แต่สุดท้ายก็ต้องไปลุ้นอยู่ดีว่าหน้างานจะเป็นแบบไหน
เพราะงั้นโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด ถ้าคุณไม่มีสิทธิการรักษาในโรงพยาบาลนั้นก็ได้”
ย้อนกลับไปวันที่แม่เราป่วย
มีรพ.อย่างน้อย 2 แห่งที่ใกล้กว่า รพ.ที่เราเลือกเอาแม่ไปส่ง...
“เนี่ย.. ถ้าตอนนั้นเอาไปส่งรพ.xxx ก็ไม่หนักขนาดนี้หรอก” คนแถวละแวกบ้าน กล่าว.
เราได้แต่ยิ้มอ่อนกลับไป
เพราะเห็นประโยชน์อะไรที่จะชี้แจง “การวิเคราะห์หลังเกมจบ..ง่ายเสมอ”
วินาทีที่เราเรียกแล้วแม่ไม่ตอบ หันไปที่นั่งข้างคนขับแล้วเห็นแม่คอตก แขนกระตุกเปะปะ
วินาทีที่เราเรียกแล้วแม่ไม่ตอบ หันไปที่นั่งข้างคนขับแล้วเห็นแม่คอตก แขนกระตุกเปะปะ
เรารู้แน่ชัดว่า
“ความชิบหาย” ได้เกิดขึ้นแล้ว และสิ่งที่เราคิดต่อมาคือ “แม่คนเดิมจะไม่อยู่กับเราอีกแล้ว”
ระยะห่างระหว่างรพ.ที่ใกล้ที่สุด
กับ รพ.ที่เราพาแม่ไปส่ง กะคร่าวๆน่าจะใช้เวลาขับรถต่างกันประมาณ 10-20 นาที
คนทั่วไปมักพูดกันว่า
“ความเป็นตายของคนป่วย แค่เสี้ยววินาทีก็สำคัญ”
แต่เราในตอนนั้น กลับคิดว่ามันไม่ทันแล้ว เพราะงั้น จะต่างกันแค่ 10 หรือ 20 นาที ก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป
แต่เราในตอนนั้น กลับคิดว่ามันไม่ทันแล้ว เพราะงั้น จะต่างกันแค่ 10 หรือ 20 นาที ก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป
“เราเสียแม่ไปแล้ว
เราจะไม่ยอมเสียอะไรโดยไม่จำเป็นอีก” ...ในหัวเราคิดแบบนี้จริงๆ
เราเลือกที่จะไปรพ.ที่แม่มีประวัติ
และสิทธิการรักษา รพ.ที่เราคุ้นเคยพื้นที่ รพ.ที่เราพอรู้ระบบของเขา
รพ.ที่เราคิดว่าเราจะคุยกับเจ้าหน้าที่
พยาบาล และหมอรู้เรื่อง
รพ.ที่จะดูแลแม่เราอย่างต่อเนื่องได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ต้องรับความเสี่ยงในการส่งตัวไปที่โรงพยาบาลอื่นอีก
“ไม่มีเวลาให้ตกใจหรือเสียใจอีกต่อไป”
สมองต้องคิดตลอดว่าจะทำยังไงให้ทุกอย่างง่าย จบไว และเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตให้น้อยที่สุด
สเต็ปที่
1 : ช่วยเหลือให้เจ้าหน้าที่รพ.ทำงาน
“ง่ายและเร็ว” ที่สุด
เราโทรศัพท์ไปแจ้งอาการแม่กับเขา
พูดคุยกันว่าเราจะเอาแม่ไปส่งที่ประตูไหน การสนทนากินเวลาไม่ถึง 5 นาทีก็วางสาย
ใช้เวลาระหว่างติดไฟแดงหาบัตรประจำตัวประชาชน
บัตรประกันสุขภาพของแม่ทุกใบมาเตรียมไว้
พร้อมจดเบอร์ติดต่อของเราใส่กระดาษแผ่นเล็กๆ มัดรวมอยู่ในซองเดียวกัน
ไม่ถึง
30 นาทีหลังการสิ้นสติของแม่ เราก็เอารถไปเกยยังประตูห้องฉุกเฉินที่มีเจ้าหน้าที่หน้าคุ้นเคยที่รอรับอยู่แล้ว
เรายัดทุกสิ่งที่เตรียมไว้ใส่มือเขา
เอ่ยเบาๆว่า “รบกวนด้วยนะคะ”
จากนั้นเอารถไปจอด
และมุ่งตรงมายังห้องฉุกเฉิน แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่รพ.
ได้รับแจ้งว่ากำลังปรับสภาพร่างกายให้คงที่
เตรียมทำเอ็กซเรย์สมอง
เรามองผ่านประตูห้องฉุกเฉินไป
ก็พบว่าแม่เราได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ใน ในระดับเคสฉุกเฉิน
ทุกอย่างในสเต็ปที่
1 ผ่านไปด้วยดีตามแผนที่คิดไว้
สเต็ปที่
2 : สรุปจบเงื่อนไข
และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้ “ชัดเจน” ที่สุด
หลังแจ้งขั้นตอนการรักษาแม่จบ
เราเอ่ยปากถามเรื่องสิทธิการรักษา
เจ้าหน้าที่จึงได้ชี้ทางไปยังฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เรายื่นบัตรทั้งหมดที่แม่มี เพื่อตรวจดูสิทธิว่ามีอะไรบ้าง
ที่เรารู้แน่คือ
ประกันสังคมและประกันเอกชน ที่เราไม่ต้องสำรองจ่ายก่อนแน่นอนหากมารพ.นี้
เมื่อเอกสารครบ
ตรวจสอบสิทธิ์ทุกอย่าง คอนเฟิร์มเสร็จเรียบร้อย เรายืนยันเจตนากับเจ้าหน้าที่อีกครั้งโดยสรุปว่า
“เราต้องการการรักษาและตัวยาในระดับที่ดีที่สุด
โดยขอใช้สิทธิประกันสังคมก่อน
ในส่วนที่ประกันสังคมไม่ครอบคลุมหรือเกิน ให้โอนไปยังประกันเอกชน
และถ้าหากยังเกินอีกเราไม่มีปัญหาถ้าต้องจ่ายเงินสด”
เมื่อคอนเฟิร์มทุกอย่างตรงกัน
มันก็ง่ายไปอีกขั้น เป็นเวลาเดียวกับที่แม่ถูกเข็นออกมาจากเอ็กซเรย์สมองพอดี
สภาพร่างของแม่ดูดีขึ้นมาก
สีหน้าดูโอเคขึ้น แม้จะสงบนิ่ง แต่โดยรวมก็ไม่น่าตกใจเหมือนตอนที่มาถึงใหม่ๆ
2
สเต็ปผ่านไป เรายังคงพอใจ ในระหว่างเดินตามเตียงแม่กลับไปที่ห้องฉุกเฉิน เราคิดถึงสเต็ปที่
3
สเต็ปที่
3 : เสถียรภาพด้านการเงินต้องไม่เปลี่ยนแปลง
ที่บ้านเราเป็นบริษัทเล็กๆ
ที่มีพนักงานอยู่ 2 คนคือพ่อกับแม่ และแม่คือคนที่มีอำนาจดูแลเรื่องการเบิกจ่ายเงิน
การเซ็นเอกสารทุกอย่างของบริษัททั้งหมด.. เราโทรหาสำนักงานบัญชี
แจ้งเรื่องให้ทราบโดยคร่าว ว่าเราต้องการเปลี่ยนผู้มีอำนาจในบริษัทจากแม่เป็นเราทั้งหมด
เพราะแม่ไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ทางนั้นรับทราบและเข้าใจ แจ้งวิธีการและเอกสารทั้งหมดที่เราต้องเตรียมส่งให้เพื่อจะได้ดำเนินเรื่องให้ไวที่สุด
รวมถึงการดำเนินการเรื่องทรัพย์สินส่วนตัวของแม่ด้วย เพราะทรัพย์สินของครอบครัวเรา
90% เป็นชื่อของแม่ทั้งหมด
ซึ่งเมื่อเคลียร์สเต็ปนี้ไปได้
เราโคตรโล่งใจเพราะ “เรื่องเงินสำคัญเสมอในทุกสถานการณ์” (สุดท้ายจ่ายส่วนต่างแค่ 40 บาท
และได้เงินชดเชยตามสิทธิอีก) จากนั้นก็ได้รับแจ้งผลการตรวจของแม่ว่า “เส้นเลือดในสมองแตก
4 ซม.” เตรียมส่งไอซียู รอหมอสมองประเมินเพื่อผ่าตัด
สเต็ปที่
4 : บอกคนอื่นอย่างไรให้ “ตกใจ” น้อยที่สุด
หลังจากแม่ถึงมือหมอแล้ว
เราเริ่มจดบันทึกใน Note ถึงเวลาแต่ละช่วง ให้เข้าใจง่ายที่สุด แล้วโยนลงเฟสบุค
จากนั้นทยอยบอกญาติๆ
เรียงลำดับถึงความสำคัญในการช่วยเหลือหน้างานของเราให้มากที่สุดก่อน ซึ่งก็คือ “คุณน้า”
2 คนของเราเอง ซึ่งโชคดีที่เราคิดถูก เพราะทันทีที่มีคนรู้เรื่อง
ก็มีคนมาให้กำลังใจกันเต็มไปหมด ขณะที่แม่รอผ่าตัด เราหลีกเลี่ยงมากที่จะเข้าไปดูแม่
เข้าไปแตะตัวแม่ เพราะเรารู้ตัวเองว่าถ้าเราเข้าไป “เราจะไม่มีสติทำอะไรต่อได้อีก”
แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังถูกเรียกให้เข้าไป
ให้จับมือแม่บ้าง ให้เรียกชื่อแม่บ้าง ให้บอกบทสวดมนต์ให้แม่บ้าง ฯลฯ บอกตามตรงจุดนั้นเราโคตรอึดอัด
แต่ก็เข้าใจในความหวังดี จึงทำได้แค่ขอตัว อ้างว่าต้องไปคุยเรื่องเอกสารกับธุรการ
แล้วเดินออกมา ซึ่งคุณน้าเราก็เข้าใจดี ในการเข้าไปดีลกับผู้หวังดีเหล่านั้นแทนให้
สเต็ปนี้ผ่านไปแบบกระท่อนกระแท่น
เพราะมันมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อยู่เยอะ แต่ก็โอเคแหละ ถือว่าไม่แย่
สเต็ปที่
5 :
ประคับประคองทุกอย่างให้นิ่งที่สุดจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา
เมื่อเคลียร์หน้างานที่เป็นเรื่องฉุกเฉินทุกอย่างจบแล้ว
การผ่าตัดของแม่ก็เป็นไปได้ด้วยดี ก็ต้องคิดว่าหลังจากนี้จะเป็นไงต่อ
ในเมื่อชีวิตก็ต้องเดินต่อไป เราสลับกับพ่อไปอยู่กับแม่ที่รพ.
ทุกเช้าเราจะไปเปลี่ยนเวรกับพ่อที่รพ. และทุกเย็นหลังทำงานพ่อก็จะมาเปลี่ยนเวรกับเรา
เราซื้อโน้ตบุคเบาๆเครื่องเล็กๆโง่ๆลดราคามา 1 เครื่อง เพื่อเอาไว้เคลียร์งานเก่า
และลุยงานบริษัทแทนแม่ โชคดีที่คุณย่ายังแข็งแรง และมีคุณป้าแท้ๆ ที่มาช่วยดูแลงานบ้านให้อย่างเต็มตัว
เราหมั่นอัปเดตรูปภาพ และอาการของแม่ลงเฟสบุคเรื่อยๆ... ทำทุกอย่างให้ดูปกติที่สุด
เพราะเราคิดไปเองว่า คงมีคนเป็นห่วงเยอะ
ซึ่งไอ้ทุกอย่างที่ทำเหมือนว่ากูโอเคอ้ะ
คือหลอกทั้งนั้น และถ้าถามต่อว่าทุกวันนี้โอเคมั้ย ก็บอกเลยว่า “ไม่โอเคหรอก”
แต่ก็นั่นแหละ
อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด แล้วถ้ามันเกิดไปแล้ว แล้วเป็นเรื่องชิบหาย “คนที่อยู่รอด
คือคนที่ปรับตัวได้” ว่ะ
ย้อนกลับไปที่ประโยคต้นเรื่องว่า
“โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด
ถ้าคุณไม่มีสิทธิการรักษาในโรงพยาบาลนั้น” เพราะจาก 5 สเต็ปที่เขียนมานี้มันเกิดขึ้นได้และผ่านไปอย่างราบรื่นเพราะเราตัดสินใจมาที่รพ.นี้. แทนที่จะไปรพ.ที่ใกล้กว่า เพราะเหตุผลด้านมาตรฐานที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ของประเทศเรานั่นแหละ
“เจอคนดีก็ดีไป เจอคนไม่ใส่ใจก็ซวย” เท่านี้แหละจ้ะ
No comments:
Post a Comment